การผลิตไฟฟ้าจากมือตนเอง
                                                                  ยงกฤต  หยาง เรียบเรียง

รูปที่1 เป็นการอธิบาย การเกิดไฟฟ้า จาก ของจริง ส่วนประกอบหลัก ได้แก่ แม่เหล็ก และ ขดลวด .. ส่วนคำอธิบาย รายละเอียด วิธีการทำ จะแยกอธิบายต่างหาก ในเรื่องการทำ โครงสร้าง ...ตามรูป ที่2 แผ่นเหล็ก วงกลม มีแม่เหล็ก วาง โดยรอบ วงกลม ตามตำแหน่ง แผ่นเหล็ก จำนวน 2 แผ่น ทำให้ต้องใช้ แม่เหล็ก ทั้งหมด 24 ก้อน .....ตามรูปที่ 3 แผ่นแม่เหล็กต้องวางให้ตรงกัน เพื่อเส้นแรงแม่เหล็ก จะได้ตรงกัน เป็นการเสริมให้แรงขึ้น แผ่นเหล็กที่มี แม่เหล็ก แผ่นละ 12 ก้อนนี้ จะหมุนตามกันไปพร้อมกันในทิศทางเดียวกัน ...ช่องว่างระหว่างแผ่นที่มีแม่เหล็กทั้งสองนี้ จะมีแผ่น ชุดขดลวด ... ตามรูปที่ 4 แผ่นชุดขดลวด จะ ประกอบด้วย ขดลวดจำนวน 9 ขด วางเรียงกันเป็น รูปวงกลม เมื่อวางเสร็จแล้วจะมีการเทเรซิ่น เพื่อทำให้ ชุดขดลวดทั้ง 9 ขดนี้ เป็นแผ่น โดยติดตั้งให้แผ่นขดลวดนี้ ไม่เคลื่อนที่่ ..รายละเอียดในการทำแยกพูดต่างหาก ครับ..*** ตาม... รูปที่5 เมื่อมองจาก ด้านตรงหน้า การวาง ตำแหน่งแม่เหล็กและตำแหน่งขดลวด จะวางในตำแหน่ง ที่ตรงกัน สัมพันธ์และสมดุลย์ ระหว่างกัน ทั้งขนาดและเนื้อที่ ...การเกิดขึ้นของไฟฟ้า มีดังนี้ ..***เมื่อแผ่นแม่เหล็กหมุน จะโดย พลังงานลม ( กังหันลม )หรือ พลังงานน้ำ (กังหันน้ำ ) หรือ พลังงานกล อื่นๆ (รายละเอียดแยกกล่าวต่างหาก ครับ ) ในเรื่องพลังงานกล รายละเอียด และวิธีการ กำลัง รอเงิน บริจาค จากผู้ใจบุญ อยู่ครับ ...ในขณะที่แผ่นที่ติดตั้ง แม่เหล็ก หมุน ก็จะทำให้เส้นแรงแม่เหล็กไปตัดกับขดลวด จึงเกิดไฟฟ้าที่ ปลายลวด ทั้งสอง ..แต่ถ้าไม่มีการหมุน ก็จะไม่มีเส้นแรงแม่เหล็กไปตัดกับขดลวด ไฟฟ้าก็ไม่เกิด ...กฎของธรรมชาติ ง่ายๆแบบนี้ มีมาแต่โบราณ แล้ว มนุษย์เราก็รู้จัก นำ วัตถุ เหล่านี้ มาทำ มาผลิตไฟฟ้า ครับ จะเห็นได้ว่า เป็นหลักการ การผลิตไฟฟ้าที่ง่ายมากครับ การทำก็ ง่ายๆ ไม่ยุ่งยาก หรือ ลำบากแต่ประการใดๆทั้งสิ้น ง่ายกว่าการใช้มอเตอร์เครื่องซักผ้าที่เสีย ครับ เพราะ มอเตอร์ เครื่องซักผ้า หาซื้อยาก ครับ
จบครั้งที่ 1..หาอ่านได้ใน ... การผลิตไฟฟ้า จากมือตนเอง
www.pradharm.com/news.html

 

ขดลวด ผมขอย้ำตลอดเวลาว่า ขดลวด กับแม่เหล็ก ของ ทั้ง สองสิ่งนี้ ทำให้เกิดไฟฟ้า ส่วนจะมีวิธีการทำเป็นอย่างไร ทำแบบไหน จะขอกล่าวในเรื่องการทำโครงสร้าง ในที่นี้ จะขอกล่าว อย่างแรก คิอ ขดลวด เป็นอย่างไร ...ขดลวด เป็นอย่างนี้ คิอ เมื่อ นำเส้นลวดทองแดง ตามรูป ... นำมา ม้วนขดเป็น ขดลวดตามรูป ..วิธีการทำและเครื่องมือในการทำ ขดลวด จะแยกกล่าวต่างหากโดยละเอียดอีกส่วนหนึ่ง ...
ตามรูปที่1 ขดลวดที่พันเสร็จแล้ว ที่ปลายทั้ง สอง ปลายหนึ่งมีชื่อเรียกว่า ..จุดเริ่มต้น start .. ส่วนอีกปลายจะมีชีอเรียกว่า ..จุดสุดท้าย finish .. ตามที่ได้กล่าวมาแล้ว ว่า ถ้าจะให้ แรงไฟฟ้ามากขึ้นก็จะต้องนำ ขดลวดมาต่อกันแบบอนุกรม ...
ตามรูปที่2 เป็นการต่ออนุกรม ต่ออย่างไร ให้ดูรูปที่2 ประกอบ วิธีการต่อ ก็ให้ นำ ปลายจุดสุดท้าย ของ ขดลวดที่1ต่อ เข้ากับจุดเริ่มต้นของ ขดลวดที่2 เป็นอันเสร็จ การต่อแบบนี้เรียกว่า การต่อแบบอนุกรม series connection ,.... นอกจากแบบอนุกรมที่ต่อเพื่อให้แรงไฟฟ้าสูงขึ้นแล้ว ยังมีการต่อแบบขนาน เพื่อให้เกิด กระแสไฟฟ้าสูงอีกด้วย นั่นคือ การต่อ แบบขนาน parallel ตามรูป ที่3 ให้ดูรูปประกอบการอธิบาย เพื่อความเข้าใจที่ง่ายขึ้น การต่อแบบขนาน มีวิธีต่อขดลวดทั้งสอง ดังนี้ คือ นำปลายจุดเริ่มต้น นำมาต่อเข้าด้วยกัน ส่วนที่ปลาย จุดสุดท้าย ของขดลวดทั้งสองต่อเข้าด้วยกัน การต่อขนานแบบนี้ จะทำให้ กระแสไฟฟ้าสูงขึ้น แต่ แรงไฟฟ้าที่ได้ไม่สูงตาม ...ขดลวดในความหมายที่กล่าวถึงนี้ หมายถึงขดลวดที่นำมาผลิตไฟฟ้าเท่านั้น เพราะในความเป็นจริง ขดลวดสามารถนำมาใช้งานได้หลากหลายรูปแบบ...
ในการทำเครื่องผลิตไฟฟ้านี้ ขดลวด ต่อกัน เป็นแบบ 3 phase หรือ มีอีกชื่อหนึ่งว่า การต่อแบบ ดาว Star connection ตามรูปที่4 ส่วนรูปที่5 นำรูป 3 phase มาจัดวางใหม่ให้เหมือน Star การต่อ 3 phase ยังคงเหมือนเดิม ให้สังเกตว่า การต่อแบบ 3 phase ขดลวดจะลงท้ายด้วย 3 ขด หรือ ทวีคูนกันไป เช่น 3 .หรือ 6 หรือ 9 หรือ 12 ไปเรื่อยๆ .ตามตัวอย่าง.ที่เคยกล่าวมาแล้ว จะพบว่ามอเตอร์เครื่องซักผ้าก็จะเป็นแบบ 3 phase บางยี่ห้อก็ จะมีขดลวด 12 ขดลวด และบางยี่ห้อก็จะมี 48 ขดลวด เป็นต้น และก็เป็นที่ทราบกันตามที่กล่าวมาแล้วว่า ถ้าจะเพิ่มแรงดันไฟฟ้า ต้องต่อแบบ อนุกรม และถ้าจะเพิ่มกระแสไฟฟ้าต้องต่อแบบขนาน

ในกรณีของมอเตอร์เครื่องซักผ้า แต่ละ ยี่ห้อ มีการใช้ ขนาดความใหญ่โต ของสายลวดไม่เท่ากัน ..การพันขดลวดจำนวนขดก็ไม่เท่ากัน ความแรงของแม่เหล็กก็ไม่เท่ากัน ที่เป็นเช่นนี้ เพราะการออกแบบของแต่ละบริษัท มีการออกแบบไม่เหมือนกัน เมื่อมีการนำมอเตอร์ชนิดนี้ ทำทำเป็นเครื่องกำเหนิดไฟฟ้า จึงต้องมีการ ทดลองและทำให้ได้ ไฟฟ้าตามที่ต้องการ การทดลองและทำได้แก่การมา ตัด และ ต่อ ขดลวดใหม่ แต่ไม่ว่าจะตัดต่ออย่างไร ก็ยังคงเป็นแบบ 3 phase เหมือนเดิม ....รายละเอียด การ ทดลอง และตัดต่อไป
อ่านย้อนหลังได้ที่ www.pradharm.com/news.html

จบครั้งที่ 2

-ในการพูดถึงเรื่อง มอเตอร์เครื่องซักผ้า ที่นำมาดัดแปลงเป็นเครื่องกำเหนิดไฟฟ้า และ การทำเครื่องกำเหนิดไฟฟ้า โดยใช้มือพันขดลวด ด้วยตนเอง ...ในการเชื่อมต่อขดลวด นั้น เป็นการต่อแบบ 3 phase ( 3 phase connection ) ดังนั้น จะเห็นได้ว่า การเพิ่มขึ้น หรือ ลดลงของขดลวด จะเป็นสัดส่วนกับ 3 phase จึงขอยกตัวอย่างประกอบคำอธิบาย 1 ตามรูป ขดลวด 9 ขด ต่อแบบ 3 phase star connection ขดลวด เป็นแบบพันด้วยมือตนเอง รายละเอียด จำนวน และขนาดของลวด จะกล่าวโดยละเอียด ในเรื่อง การทำโครงสร้าง ... 2 ตามรูป เป็นขดลวดจำนวน 36 ขด ของมอเตอร์เครื่องซักผ้า ที่มีการบ่งบอก จากผู้ผลิต คือ เป็นมอเตอร์ 3 phase 300W 300V นั่นหมายถึงว่า มอเตอร์ตัวนี้จะกินไฟ หริอ ผลิตไฟ กำลัง 300W แรงไฟ 300 V กระแสไฟ 1A ..แต่ในกรณีที่ charger และ Inverter .ใช้ แรงไฟต่ำ จึงมีความจำเป็นต้อง มาตัดต่อใหม่ ตามรูป แต่เดิม จำนวนขดลวด 36 ขด 3 phase ., phase ละ 12 ขด เมื่อต้องการลดแรงไฟ แต่ให้ กำลังไฟเพิ่มขึ้น จึงต้อง ทำ แต่ละเฟส ให้ ขดลวด ขนานกัน และอนุกรม เป็น ต่อ อนุกรม 6 หกขด เป็น 2 แถว มาต่อขนานกัน แรงไฟฟ้า ก็จะลดลง แต่กระไฟฟ้าก็จะเพิ่มขึ้น แต่จะลดลงเหลือเท่าไร ต้องทดลอง ทำด้วย ในกรณีนี้ สามามารถ ต่อ ขดลวด ขนานกัน 12 ขดลวด แบบ 3 เฟส ก็จะได้ กระแสสูงสุด แรงไฟฟ้าก็ต่ำสุด แต่ กำลังไฟฟ้า ยังคง 300W เท่าเดิม ....ที่กล่าวมานี้เป็นแค่ตัวอย่างเท่านั้น เพราะในความเป็นจริง ผมมี ตั้งแต่ 12 ขด จนถึง 36 ขด จึงต้องทำการ ทดลองตัดต่อ มอเตอร์แต่ละขนาด แต่ละยี่ห้อ ผลการทดลองจะนำมา บอกเล่ากันต่อไป เพราะผมต้องการ กำหนดไว้คือ ผมใช้ แบตเตอรี่ 12V 2 ลูกต่อ อนุกรม เป็น 24V อุปกรณ์ inverter ของผม ขาเข้า 24 VDC ขา ออก 220 VAC
ผมอธิบายรวบรัดมาก ถ้ามีข้อสงสัย ตามข้อความที่กล่าวมา ถามได้ ทั้งทาง เฟส และทาง Line ได้เลยครับ
 


จบครั้งที่3 ...ติดตามอ่านได้ใน ... การผลิตไฟฟ้า จากมือตนเอง
www.pradharm.com/news.html

ไฟฟ้า ที่ ออกมา จากขดลวด ยังนำไปใช้งาน แทนไฟฟ้าบ้านยังไม่ได้ เพราะด้วยเหตุ ผลหลายๆอย่าง อยากรู้ก็ต้องมาเรียนรู้ ที่ ศูนย์เรียนรู้ที่ หันคา ชัยนาท ..ฟรี ๆๆ ครับ ..ไฟฟ้าที่ได้ออกมาเป็น ไฟฟ้า 3 เฟส AC ครับ ปกติไฟฟ้า ตามบ้านที่ใช้อยู่ เป็น....*****... single phase ดูรูปประกอบ แต่ถ้าจะดูของจริง ก็ต้องมาที่ศูนย์เรยนรู้ี่หันคาชัยนาท เช่นเคย ครับ ....****...... แต่ถ้าเราจะขอ 3 phase ก็ขอกับการไฟฟ้าได้... จึงมีไฟฟ้า ออกมาทั้ง 3 สาย ขอให้ รับรู้และพักความนึกคิดแค่นี้ก่อน ..ผมจะขอกล่าว อุปกรณ์ Electronic ชนิดหนึ่งที่เรียกว่า Diode ซึ่งมีคุณสมบัติ ย่อๆ อย่างหนึ่งคือแปลงไฟ AC ให้เป็น DC ความจริงแล้ว Diode มีมากมายหลายชนิด หน้าที่และคถณสมบัติมีมากมายหลายประการ แต่ในที่นี้ เลือกพูด ..**..สั้นๆ ย่อๆๆ ..***และ ทำ เฉพาะ ที่นำมาใช้ แปลงไฟฟ้าAC มาเป็น DC เท่านั้น และเพื่อให้การทำงานมีคุณภาพยิ่งขึ้น จึงมีการนำ Diode 4 ตัว มาต่อเข้าด้วยกัน ตามรูป จึงเรียกชื่อ

Diode 4 ตัวใหม่นี้ว่า Diode Bridge หรือ Bridge Rectifier หรือ บางแห่งก็เรียก Bridge เฉยๆ สั้นดี ส่วนตัวผมเอง เรียก ทั้งสามชื่อ ขึ้นอยู่กับว่า ผมไปอยู่ที่ไหน ....ในที่นี้ บางครั้งผมไม่อยากแปล เพราะแปลไม่ออก ถ้าแปลตามราชบัดฑิต แม้แต่ตัวผมเองอ่านแล้วก็ยังไม่เขข้าใจ จึงขอเขียนแบบ ชาวบ้านๆ ให้ อ่าน ผมเป็นคนต้นทุนต่ำ ใน profile ผมก็บอกแล้วว่า ผม เคยเป็นเด็กวัดมาก่อน เรียนจบ รร วัดจันทร์ตะปะขาว และวัดรางบัว ครับ ...ใน single เราใช้ครบ 4 ตัว แต่ใน 3 phase เราใช้แค่ 2 ตัว หรือ Bridge แค่ครึ่งเดียว แต่ใช้ Bridge 3 ตัว สังเกตให้ดี จะมีการต่อตำแหน่งที่ ไฟ AC เข้า 2 ขา ต่อเข้าด้วยกัน บางแห่ง หรือแม้แต่ เมื่อดู ใน you tube จะแสดง การ ต่อ แบบ ขาเดียว...ดังนั้น ก็แล้วแต่จะต่อกัน แต่ผมเลือกที่จะต่อ 2 ขาเข้าด้วยกัน ....*** จบBridge ย่อๆๆ...เมื่อพักมาพอสมควร ก็ เข้าเรื่องเลยครับ.. ไฟฟ้า สามสาย ที่ ออกมา ต่อผ่าน Bridge 3 ตัว คือ สายละหนึ่งตัว Bridge แต่ละตัวจะมีไฟ บวกและ ลบ ออกมา ไฟบวก ก็เข้าขั้วบวก ของแบตเตอรี่ ส่วนไฟลบ ก็เข้าขั้วลบ ของแบตเตอรี่ ...
 

จบตอนที่ 4 ครับ

หาอ่าน ต่อเนื่อง ได้ที่ www.pradharm.com/news.html